เพราะเหตุใดงานเสาเข็มของ บี.เค.เค.ไพล์ลิ่ง ถึงโดดเด่นไม่เหมือนใคร? หาคำตอบกันได้ในคลิปนี้
10-03-2023
“การตอบสนองและแก้ปัญหาได้รวดเร็วคือเคล็ดลับสู่ความสำเร็จ” มาฟังแนวคิดในการดำเนินธุรกิจและประสบการณ์การทำงานร่วมกับสยามลวดเหล็กฯ จากคุณประวัติ เกลียวปิยะ (กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.เอ็น.ซี.เรียลเอสเตท จำกัด และ บริษัท พี.เอ็น.ซี.คอนกรีต จำกัด)
01-05-2023
การบ่มคอนกรีต (Curing) คือ วิธีการควบคุมและป้องกันไม่ให้น้ำส่วนที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาระเหยออก เพื่อให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่น (hydration) ของซีเมนต์เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จุดประสงค์ของการบ่มคอนกรีต : 1. เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีกำลังและความทนทานสูงสุด 2. เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสม และลดการระเหยของน้ำ เพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต วิธีการบ่มคอนกรีตที่นิยมใช้ : 1. ใช้การฉีดน้ำเป็นระยะเพื่อไม่ให้คอนกรีตแห้ง 2. ใช้พลาสติกคลุมหลังจากฉีดน้ำแล้วเพื่อป้องกันน้ำระเหยออก 3. ใช้กระสอบชุบน้ำหุ้มคอนกรีต 4. ใช้น้ำยาเคมีเคลือบผิวคอนกรีต และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
18-08-2022
วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 บริษัท สยามลวดเหล็กอุตสาหกรรม จำกัด ร่วมส่งมอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กกล้า ขนาด 5 มม. และลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ขนาด 9.3 มม. (PC Wire และ PC Strand) แก่คณะวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 เส้น อีกทั้งยังมีการแนะนำอบรมกระบวนการผลิต เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สยามลวดเหล็กฯ มีความยินดีที่จะส่งเสริมสร้างสรรค์การพัฒนาบุคลากรภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและชำนาญในวิชาชีพและต่อยอดเป็นแรงงานที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมในอนาคต
05-07-2023
เสาเข็มควรเจาะลึกแค่ไหน? บ้านจึงปลอดภัยเสาเข็มเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการรับน้ำหนักและถ่ายน้ำหนักของอาคารไปชั้นดิน การถ่ายน้ำหนักของเสาเข็มนั้นเกิดขึ้นระหว่างแรงเสียดทานระหว่างดินกับพื้นผิวของเสาเข็ม หรือโดยการถ่ายแรงโดยตรงไปยังชั้นดินหรือหินแข็ง วัตถุประสงค์หลักของการใช้เสาเข็มคือป้องกันอาคารหรือบ้านให้มีเสถียรภาพหรือทรุดลงในดินเสาเข็มที่ใช้ในอาคารขนาดเล็กจะเป็นเสาเข็มที่มีความยาวไม่มากและจำนวนไม่มาก แต่ในอาคารขนาดใหญ่ก็จะใช้เสาเข็มจำนวนมากขึ้นหรือเสาเข็มที่ยาวมากขึ้นเพื่อให้สามารถถ่ายน้ำหนักลงไปยังชั้นดินที่ลึกและรับน้ำหนักแบกทานได้มากขึ้น ถ้าเสาเข็มยาวถึงระดับชั้นดินแข็ง เสาเข็มจะสามารถรับน้ำหนักจากอาคารและถ่ายลงสู่ชั้นดินแข็งโดยตรง เสาเข็ม สามารถรับน้ำหนักได้อย่างไรเสาเข็มรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ “แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin friction)”และ “แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing)”1. แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) แรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนี้จะมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดินแต่ละชนิด (ดินแต่ละชนิดจะมีสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานผิวต่างกัน) และลักษณะผิวของเสาเข็มแต่ละประเภท2. แรงต้านจากชั้นดินแข็ง (End Bearing คือ แรงต้านที่เกิดขึ้นบริเวณปลายเสาเข็ม ซึ่งแรงนี้เกิดจากดินที่มารองรับที่ปลาเสาเข็ม แรงนี้จะมีปริมาณมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดินเช่นกันดินที่มีช่องว่างระหว่างเนื้อดินมาก (Void) ก็จะมีความสามารถในการับน้ำหนักน้อย (ดินทรุดตัวเมื่อมีน้ำหนักมากระทำ)โดยคุณสมบัติเฉพาะของดินแต่ละชนิด ส่งผลให้มีช่องว่างระหว่างเนื้อดินไม่เหมือนกัน ดินเหนียวจะมีช่องว่างระหว่างเนื้อดินมาก (ดินหลวม)จึงรับน้ำหนักได้น้อย แต่ทรายละเอียดจะมีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อย (ดินอัดแน่น) จึงรับน้ำหนักได้มาก ในการออกแบบเสาเข็มโดยทั่วไปนั้นหากเป็นเสาเข็มแบบ Skin friction pile จะไม่คำนึงว่าปลายเสาเข็มอยู่ที่ชั้นดินประเภทไหน แต่จะให้ความสำคัญเรื่องขนาดและความยาวเสาเข็มที่เพียงพอจะทำให้เกิดแรงฝืดรอบผิวเสาเข็มเพื่อรับน้ำหนักที่กระทำเสาเข็มแบบ End bearing pileออกแบบให้เสาเข็มมีขนาดและความยาวที่ให้ปลายเสาเข็มนั่งอยู่บนชั้นทรายอัดแน่น ประเภทของเสาเข็มที่ใช้ในการสร้างบ้านและอาคารสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ตามลักษณะการผลิตและการใช้งานดังนี้:1. เสาเข็มสปัน (เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง): เป็นเสาเข็มที่ผลิตโดยการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงและแข็งแกร่ง โดยมีโครงสร้างลวดเหล็กที่อัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีต เสาเข็มสปันสามารถตอกหรือเจาะได้หลายแบบ ช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอกและลดแรงดันของดินในขณะตอก มีขนาดและความยาวหลากหลาย เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความแข็งแกร่งเพื่อป้องกันปัญหาลมแรงและแผ่นดินไหว2. เสาเข็มเจาะ: เสาเข็มเจาะใช้กรรมวิธีที่ยุ่งยากและซับซ้อนกว่าเสาเข็มสปัน โดยต้องเจาะดินและใส่เหล็กเสริมและคอนกรีตในสถานที่ที่จะใช้งานจริง มีความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่กำหนด ใช้สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแกร่งสูง3. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง: เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงผลิตโดยวางคอนกรีตเข้าไปในแม่พิมพ์ที่มีลวดเหล็ก PC Wire เสริมฝังอยู่ จากนั้นคอนกรีตจะถูกอัดแรงเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงใช้ในงานสร้างที่ต้องการความแข็งแกร่งและความทนทานต่อสภาพแวดล้อม และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯPC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wirePC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
08-06-2022
ที่เราๆท่านๆ รู้จักตะแกรงเหล็กกันดีอยู่แล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากตะแกรงเหล็ก ที่นำไปใช้ปูพื้นถนน หรืออาคารรวมถึงผนัง Precast แล้ว ตะแกรงเหล็ก ของสยามลวดเหล็ก ก็ยังมี ตะแกรงที่ชุบกัลวาไนซ์ ที่สามารถนำไปปูรอง ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาได้อีกด้วย ซึ่งทางสยามลวดเอง สามารถผลิตเป็นแผ่น ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการแล้วนำไปวางใช้งานได้เลย ได้ทั้งความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ในการทำงาน แบบนี้งานเสร็จเร็วแน่นอน
30-05-2023
ในการก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน เราสามารถเห็นการใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช มาทดแทนการใช้เหล็กเส้นในส่วนของเหล็กเสริมล่าง ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น พื้นโรงงาน , พื้น Post-tension และถนนคอนกรีต เป็นต้นฯ เนื่องจากตะแกรงเหล็กไวร์เมช สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนได้มากกว่าเป็นไหนๆ แต่ในการหันมาใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช แทนเหล็กผูกก็อาจมีวิธีการใช้งานและหลักการคำนวณบางอย่างที่แตกต่างกัน หนึ่งในเรื่องที่หลายคนสงสัยมากคือ “การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช” ควรมีระยะเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช ตะแกรงเหล็กที่ใช้เป็นเหล็กเสริมในแผ่นพื้น จะต้องมีการต่อทาบ ดังนี้ 1. ควรหลีกเลี่ยงการต่อลวดโดยใช้วิธีทาบ ณ บริเวณที่มีหน่วยแรงสูงสุด (ตำแหน่งที่ลวดพื้นรับแรงเกินกว่าครึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้) แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้การต่อวิธีนี้ ต้องมีระยะทาบของตะแกรงไม่น้อยกว่าระยะเรียงของเส้นลวดบวกเพิ่มอีก 5 เซนติเมตร 2. การต่อลวดตะแกรงที่รับแรงไม่เกินครึ่งหนึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้จะต้องมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร อ้างอิง: มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (วสท. 011007-19) และทางสยามลวดเหล็กฯ ก็มีตะแกรงเหล็ก ไวร์เมช ที่ผ่านมาตรฐาน มอก. 737 ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ, ความปลอดภัย, รวดเร็ว และยังมีบริการการออกแบบ CAD, การจัดสรรงบประมาณ, แถมมีวิศวกรให้คำปรึกษาฟรี!! ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม: https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
08-06-2022
ผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง หรือ (HOLLOW CORE) คือระบบแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงแบบกลวง ผลิตจากคอนกรีตแห้งหรือ NO SLUMP CONCRETEที่มีกำลังอัดสูงถึง 350 กก/ตร.ซม. เสริมด้วยลวดเหล็กแรงดึงสูง ( PC WIRE ) หรือ ลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ( PC STRAND ) สามารถผลิตความหนาได้ตั้งแต่ 6 ซม. ไปจนถึง 30 ซม. แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) เหมาะสำหรับงานก่อสร้างอาคารประเภทต่างๆ เช่น อาคารพักอาศัย อาคารสำนักงาน ,โรงงานอุตสาหกรรม และห้างสรรพสินค้าโดยที่มี ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยและ มีขนาดความกว้างและหนาให้เลือก ตามความเหมาะสมของการใช้งาน ส่วนความยาวนั้นสามารถผลิตได้ตามความต้องการ ที่จะนำไปใช้งาน สำหรับข้อดีที่เป็นจุดเด่นเลยของการใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) ก็คือ 1.น้ำหนักเบาช่วยประหยัดโครงสร้าง เช่น เสา, คาน , ฐานราก 2.แข็งแรง เพราะผลิตจากคอนกรีตกำลังอัดสูงทำให้แผ่นพื้น มีความทนทาน และคุณภาพสูง 3.รวดเร็วผลิตสำเร็จจากโรงงานลดเวลางานในการผูกเหล็กได้ 4.ประหยัด สะดวกไม่ต้องใช้ค้ำยันชั่วคราว และสิ่งที่จะขาดไม่ได้ และเป็นหัวใจสำคัญในการผลิต แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) ที่จะทำให้ มีความแข็งแรงมากขึ้นนั้น จำเป็นต้องมี ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง PC WIRE , PC STRAND ที่ใช้ในการผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) และทางสยามลวดเอง ก็มีสินค้า PC WIRE และ PC STRAND ที่มีมาตรฐาน มอก.95-2540 และ 420-2540 ที่ได้รับความไว้วางใจ และเป็นที่ยอมรับมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย