'ทำไมจึงต้องเลือกใช้สินค้าของสยามลวดฯ' มาดูวิสัยทัศน์ และแนวคิด ของคุณสรณีย์ ดีพันธุ์พงษ์, กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ดคอนสตรัคชั่นแมติเรียล จำกัด (UNICO) ผู้ผลิตเสาเข็มสปันเจ้าแรกในประเทศไทย เรามาฟังคำตอบ ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ จากลูกค้าคนสำคัญของเราพร้อมกันเลย
08-06-2022
ผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง หรือ (HOLLOW CORE) คือระบบแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงแบบกลวง ผลิตจากคอนกรีตแห้งหรือ NO SLUMP CONCRETEที่มีกำลังอัดสูงถึง 350 กก/ตร.ซม. เสริมด้วยลวดเหล็กแรงดึงสูง ( PC WIRE ) หรือ ลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ( PC STRAND ) สามารถผลิตความหนาได้ตั้งแต่ 6 ซม. ไปจนถึง 30 ซม. แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) เหมาะสำหรับงานก่อสร้างอาคารประเภทต่างๆ เช่น อาคารพักอาศัย อาคารสำนักงาน ,โรงงานอุตสาหกรรม และห้างสรรพสินค้าโดยที่มี ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยและ มีขนาดความกว้างและหนาให้เลือก ตามความเหมาะสมของการใช้งาน ส่วนความยาวนั้นสามารถผลิตได้ตามความต้องการ ที่จะนำไปใช้งาน สำหรับข้อดีที่เป็นจุดเด่นเลยของการใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) ก็คือ 1.น้ำหนักเบาช่วยประหยัดโครงสร้าง เช่น เสา, คาน , ฐานราก 2.แข็งแรง เพราะผลิตจากคอนกรีตกำลังอัดสูงทำให้แผ่นพื้น มีความทนทาน และคุณภาพสูง 3.รวดเร็วผลิตสำเร็จจากโรงงานลดเวลางานในการผูกเหล็กได้ 4.ประหยัด สะดวกไม่ต้องใช้ค้ำยันชั่วคราว และสิ่งที่จะขาดไม่ได้ และเป็นหัวใจสำคัญในการผลิต แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) ที่จะทำให้ มีความแข็งแรงมากขึ้นนั้น จำเป็นต้องมี ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง PC WIRE , PC STRAND ที่ใช้ในการผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) และทางสยามลวดเอง ก็มีสินค้า PC WIRE และ PC STRAND ที่มีมาตรฐาน มอก.95-2540 และ 420-2540 ที่ได้รับความไว้วางใจ และเป็นที่ยอมรับมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก
17-02-2023
ในงานก่อสร้างบ้านจัดสรรหรือคอนโดในปัจจุบันส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete กันอย่างแพร่หลายแทนการก่อสร้างแบบผนังอิฐเดิมๆ โดยเฉพาะในงานก่อสร้างหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่ต้องมีบ้านลักษณะคล้ายกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสามารถช่วยประหยัดต้นทุนทรัพยากรในหลายด้าน เช่น เวลาและกำลังคน อีกทั้งยังสามารถควบคุมมาตรฐานได้ดีกว่าการก่อสร้างแบบก่ออิฐ และวันนี้สยามลวดเหล็กฯ จะพาไปดูกันโดยละเอียดว่าเพราะเหตุใดผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักก่อสร้าง และผู้อยู่อาศัยควรปฏิบัติอย่างไรในการใช้บ้านที่สร้างจากผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) คือ? ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ Precast Concrete คือชิ้นส่วนผนังบ้านหรือผนังคอนโดซึ่งจะมีการถูกหล่อขึ้นภายในโรงงานสำเร็จไว้แล้วก่อนที่จะขนย้ายเพื่อนำไปติดตั้งหน้างาน ซึ่งจะแตกต่างจากผนังอิฐฉาบปูนที่จะถูกหล่อขึ้นหน้างานโดยช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete จะมีส่วนประกอบหลักคือ เนื้อคอนกรีตและเสริมความแข็งแรงด้วยลวดตะแกรง Wire Mesh หรือ Cold Drawn ข้อดีของผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete 1. ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง เพราะสามารถหล่อผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเตรียมไว้ในโรงงานในระหว่างประกอบฐานรากได้เลยและจึงนำมาเชื่อมประกอบหน้างาน ต่างจากผนังอิฐที่ต้องเริ่มก่อหลังจากประกอบฐานรากเสร็จแล้วเท่านั้น 2. คุณภาพได้มาตรฐานเดียวกัน เพราะมีการหล่อสำเร็จมาจากโรงงานจึงไม่ขึ้นอยู่กับฝีมือของช่างและสภาพอากาศหน้างาน 3. ใช้จำนวนแรงงานคนน้อยกว่าผนังอิฐมาก เพราะทุกชิ้นส่วนถูกหล่อสำเร็จขึ้นจากโรงงานแล้ว จึงสามารถนำมาวางติดเป็นตัวบ้านได้เลย 4. มีความแข็งแรงสูงจึงใช้แทนเสาหรือคานในการรับน้ำหนักได้ เพราะโครงสร้างประกอบด้วยคอนกรีต และยังเสริมแรงด้วยลวดตะแกรง Wire Mesh หรือ Cold Drawn และสยามลวดเหล็กฯ ก็มีจำหน่ายลวดตะแกรง Wire Mesh และ Cold Drawn ตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. พร้อมสำหรับนำไปใช้ประกอบผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete และได้มาตรฐาน มอก. จึงมั่นใจได้เรื่องความแข็งแรง รายละเอียดสินค้า: https://www.siw.co.th/en/product-detail/wire-mesh ข้อสังเกต 1. ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete จะไม่พบปัญหารอยแตกร้าวเนื่องจากชิ้นส่วนถูกหล่อขึ้นเป็นชิ้นเดียวกัน แต่อาจพบปัญหาน้ำรั่วซึมตามขอบรอยต่อผนังได้หากการเชื่อมติดไม่แน่นหนาพอ 2. การเจาะทุบผนังออกต้องได้รับคำแนะนำจากวิศวกรหากผนังชิ้นนั้นมีส่วนในการรับน้ำหนักของตัวโครงสร้าง
18-08-2022
วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 บริษัท สยามลวดเหล็กอุตสาหกรรม จำกัด ร่วมส่งมอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กกล้า ขนาด 5 มม. และลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ขนาด 9.3 มม. (PC Wire และ PC Strand) แก่คณะวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 เส้น อีกทั้งยังมีการแนะนำอบรมกระบวนการผลิต เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สยามลวดเหล็กฯ มีความยินดีที่จะส่งเสริมสร้างสรรค์การพัฒนาบุคลากรภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและชำนาญในวิชาชีพและต่อยอดเป็นแรงงานที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมในอนาคต
30-05-2023
ในการก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน เราสามารถเห็นการใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช มาทดแทนการใช้เหล็กเส้นในส่วนของเหล็กเสริมล่าง ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น พื้นโรงงาน , พื้น Post-tension และถนนคอนกรีต เป็นต้นฯ เนื่องจากตะแกรงเหล็กไวร์เมช สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนได้มากกว่าเป็นไหนๆ แต่ในการหันมาใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช แทนเหล็กผูกก็อาจมีวิธีการใช้งานและหลักการคำนวณบางอย่างที่แตกต่างกัน หนึ่งในเรื่องที่หลายคนสงสัยมากคือ “การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช” ควรมีระยะเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช ตะแกรงเหล็กที่ใช้เป็นเหล็กเสริมในแผ่นพื้น จะต้องมีการต่อทาบ ดังนี้ 1. ควรหลีกเลี่ยงการต่อลวดโดยใช้วิธีทาบ ณ บริเวณที่มีหน่วยแรงสูงสุด (ตำแหน่งที่ลวดพื้นรับแรงเกินกว่าครึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้) แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้การต่อวิธีนี้ ต้องมีระยะทาบของตะแกรงไม่น้อยกว่าระยะเรียงของเส้นลวดบวกเพิ่มอีก 5 เซนติเมตร 2. การต่อลวดตะแกรงที่รับแรงไม่เกินครึ่งหนึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้จะต้องมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร อ้างอิง: มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (วสท. 011007-19) และทางสยามลวดเหล็กฯ ก็มีตะแกรงเหล็ก ไวร์เมช ที่ผ่านมาตรฐาน มอก. 737 ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ, ความปลอดภัย, รวดเร็ว และยังมีบริการการออกแบบ CAD, การจัดสรรงบประมาณ, แถมมีวิศวกรให้คำปรึกษาฟรี!! ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม: https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
08-06-2022
เมื่อพูดถึง “ไวร์เมช (Wire Mesh)” หลาย ๆ คนได้ยินชื่อนี้แล้ว อาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเคยเห็นและรู้จักกันในภาพลักษณ์ที่เป็นตะแกรงเหล็ก แบบแผ่น หรือเป็นม้วนใหญ่ ๆ ตามไซต์งานก่อสร้างต่าง ๆ ไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆนั้น รู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) คือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) นำมา อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. และระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @ มีหลายขนาด เช่น 10*10 ซม / 15*15 ซม. / 20*20 ซม. / 25*25 ซม. / 30* 30 ซม. 40*40 ซม. / 50*50 ซม. สามารถตัดเป็นแผงได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษเหล็ก จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากเหล็กเส้นผูก และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน อีกทั้งยังช่วยยึดเกาะคอนกรีตไม่ให้แตกร้าวง่าย ไวร์เมช จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั่นเอง
08-06-2022
พื้น Post Tension โดยทั่วไป คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้น เหล็กนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น การที่มีเหล็กแรงดึงดูดเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารับหัวเสาเพื่อการถ่ายน้ำหนัก จากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างหลายอาคารก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้าง พื้นเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นระบบ Post Tension (สะดวกกว่าระบบมีคาน) และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้ พอสมควรทีเดียว เนื่องจากพื้น Post-Tension เป็นระบบพื้นซึ่งดึงลวดอัดแรง จึงจำเป็นต้องร้อยลวดอัดแรงไว้ในท่อ Galvanized เพื่อไม่ให้คอนกรีตจับตัวกับลวดอัดแรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ที่มีลักษณะต่างกันดังนี้ 1. Bonded System เป็นระบบมีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีตโดยหุ้มด้วยท่อเหล็กที่ขึ้นเป็นลอน เพื่อช่วยในเรื่องของแรงยึดเหนี่ยว ภายหลังเมื่อทำการอัดน้ำปูนเข้าไปให้เต็มท่อหลังการดึงลวด (GROUTING) เพื่อให้จับยึดระหว่าง PC Strand กับท่อเหล็ก จะใช้กับอาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และโครงสร้างขนาดใหญ่ 2. UnBonded System เป็นระบบไม่มีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีต แต่จะยึดที่บริเวณหัว Anchorage ที่ปลายพื้นทั้ง 2 ข้างเท่านั้น โดยใช้ ( PE unbounded PC strand )เป็นตัวยึดเหนี่ยว ระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับอาคารที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ งานในอนาคต แต่จะนิยมใช้กับระบบพื้นที่เป็น อาคารที่จอดรถ หรืออาคารขนาดเล็กที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานที่ตามมาในอนาคต ข้อดีขอ ระบบพื้นพื้น Post Tension รวดเร็วกว่า: สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับระบบพื้นโครงสร้างเสริมเหล็กทั่วไป คุ้มค่ากว่า : ออกแบบโดยคำนึงถึงความประหยัดของโครงสร้างและค่าก่อสร้างโดยรวม อาทิเช่นแรงงาน ไม้แบบ คอนกรีต เป็นต้น
08-06-2022
น้ำหนักของตะแกรงเหล็กก็มีความสำคัญมากในการสั่งซื้อเพราะ จะทำให้เราสามารถ รู้ได้ว่าจำนวนแผงได้ครบตามที่ต้องการหรือไม่ และยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของ ขนาดเหล็กว่าได้เหล็กเต็มขนาดรึเปล่า วิธีการคำนวนอย่างง่าย ( ใช้ได้เฉพาะ ตะแกรงที่มีขนาดลวดและ ความห่างตาเท่ากัน เท่านั้น ) ตามภาพ ถึงอย่างไร น้ำหนักอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจาก มีรายละเอียดในตะแกรงเหล็กมากกว่านั้นเช่น จำนวนลวดที่ไม่เท่ากัน หรือ มีความต่างของ ขนาดลวด และความต่างของช่องตา จึงต้องมีการคำนวนอย่างละเอียด ถ้าต้องการทราบว่าน้ำหนักที่ถูกต้องก็ สามารถสอบถาม กลับมาทาง บริษัทสยามลวดเหล็กได้ เนื่องจากมีวิศวกร คอยให้ความรู้ และ สามารถสอบถามราคาได้ จึงมีความมั่นใจได้ว่า เหล็กของสยามลวด นั้น เป็นเหล็กเต็มขนาด และมีมาตรฐานในการผลิตที่ได้ตามมาตรฐาน มอก.
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย