08-06-2022
เรามาทำความรู้จักกับลวดเหล็กสปริง กันดีกว่ามีกี่ชนิด ลวดสปริงสามรถแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้ 1. Hard Drawn Steel Wire - (JIS G 3521) ลวดเหล็กที่ผลิตภายใต้กระบวนการรีดเย็น โดยใช้เหล็กลวดที่มีส่วนผสมของคาร์บอนสูง ที่เหมาะกับการใช้ผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดย Hard Drawn Wire แบ่งเป็น 3 เกรด คือ SWA SWB และ SWC แต่ละเกรดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน 2. Piano Wire - ลวดเปียโน (JIS G 3522) ลวดเปียโนผลิตจากกระบวนการรีดเย็น โดยใช้ลวดเหล็กที่มีส่วนผสมคาร์บอน ด้วยคุณภาพที่ดีนี้ ลวดเปียโนจึงนำมาใช้ในการผลิตสปริงที่มีคุณภาพสูงเป็นพิเศษ เช่น สปริงในอุตสาหกรรมยานยนต์ โช๊ค เครื่องยนต์ อาทิ สปริงวาวล์ สปริงเบรค สปริงคลัชท์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เป็นต้น ซึ่งลวดเปียโนสามารถแบ่งเกรดเป็น SWPA, SWPB และ SWPV โดยแต่ละเกรดมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามประเภทงาน
20-01-2023
'ทำไมจึงต้องเลือกใช้สินค้าของสยามลวดฯ' มาดูวิสัยทัศน์ และแนวคิด ของคุณสรณีย์ ดีพันธุ์พงษ์, กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ดคอนสตรัคชั่นแมติเรียล จำกัด (UNICO) ผู้ผลิตเสาเข็มสปันเจ้าแรกในประเทศไทย เรามาฟังคำตอบ ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ จากลูกค้าคนสำคัญของเราพร้อมกันเลย
17-02-2023
ในงานก่อสร้างบ้านจัดสรรหรือคอนโดในปัจจุบันส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete กันอย่างแพร่หลายแทนการก่อสร้างแบบผนังอิฐเดิมๆ โดยเฉพาะในงานก่อสร้างหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่ต้องมีบ้านลักษณะคล้ายกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสามารถช่วยประหยัดต้นทุนทรัพยากรในหลายด้าน เช่น เวลาและกำลังคน อีกทั้งยังสามารถควบคุมมาตรฐานได้ดีกว่าการก่อสร้างแบบก่ออิฐ และวันนี้สยามลวดเหล็กฯ จะพาไปดูกันโดยละเอียดว่าเพราะเหตุใดผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักก่อสร้าง และผู้อยู่อาศัยควรปฏิบัติอย่างไรในการใช้บ้านที่สร้างจากผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) คือ? ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ Precast Concrete คือชิ้นส่วนผนังบ้านหรือผนังคอนโดซึ่งจะมีการถูกหล่อขึ้นภายในโรงงานสำเร็จไว้แล้วก่อนที่จะขนย้ายเพื่อนำไปติดตั้งหน้างาน ซึ่งจะแตกต่างจากผนังอิฐฉาบปูนที่จะถูกหล่อขึ้นหน้างานโดยช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete จะมีส่วนประกอบหลักคือ เนื้อคอนกรีตและเสริมความแข็งแรงด้วยลวดตะแกรง Wire Mesh หรือ Cold Drawn ข้อดีของผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete 1. ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง เพราะสามารถหล่อผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเตรียมไว้ในโรงงานในระหว่างประกอบฐานรากได้เลยและจึงนำมาเชื่อมประกอบหน้างาน ต่างจากผนังอิฐที่ต้องเริ่มก่อหลังจากประกอบฐานรากเสร็จแล้วเท่านั้น 2. คุณภาพได้มาตรฐานเดียวกัน เพราะมีการหล่อสำเร็จมาจากโรงงานจึงไม่ขึ้นอยู่กับฝีมือของช่างและสภาพอากาศหน้างาน 3. ใช้จำนวนแรงงานคนน้อยกว่าผนังอิฐมาก เพราะทุกชิ้นส่วนถูกหล่อสำเร็จขึ้นจากโรงงานแล้ว จึงสามารถนำมาวางติดเป็นตัวบ้านได้เลย 4. มีความแข็งแรงสูงจึงใช้แทนเสาหรือคานในการรับน้ำหนักได้ เพราะโครงสร้างประกอบด้วยคอนกรีต และยังเสริมแรงด้วยลวดตะแกรง Wire Mesh หรือ Cold Drawn และสยามลวดเหล็กฯ ก็มีจำหน่ายลวดตะแกรง Wire Mesh และ Cold Drawn ตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. พร้อมสำหรับนำไปใช้ประกอบผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete และได้มาตรฐาน มอก. จึงมั่นใจได้เรื่องความแข็งแรง รายละเอียดสินค้า: https://www.siw.co.th/en/product-detail/wire-mesh ข้อสังเกต 1. ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete จะไม่พบปัญหารอยแตกร้าวเนื่องจากชิ้นส่วนถูกหล่อขึ้นเป็นชิ้นเดียวกัน แต่อาจพบปัญหาน้ำรั่วซึมตามขอบรอยต่อผนังได้หากการเชื่อมติดไม่แน่นหนาพอ 2. การเจาะทุบผนังออกต้องได้รับคำแนะนำจากวิศวกรหากผนังชิ้นนั้นมีส่วนในการรับน้ำหนักของตัวโครงสร้าง
08-06-2022
ที่เราๆท่านๆ รู้จักตะแกรงเหล็กกันดีอยู่แล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากตะแกรงเหล็ก ที่นำไปใช้ปูพื้นถนน หรืออาคารรวมถึงผนัง Precast แล้ว ตะแกรงเหล็ก ของสยามลวดเหล็ก ก็ยังมี ตะแกรงที่ชุบกัลวาไนซ์ ที่สามารถนำไปปูรอง ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาได้อีกด้วย ซึ่งทางสยามลวดเอง สามารถผลิตเป็นแผ่น ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการแล้วนำไปวางใช้งานได้เลย ได้ทั้งความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ในการทำงาน แบบนี้งานเสร็จเร็วแน่นอน
11-11-2022
เพราะเหตุใดงานเสาเข็มของ บี.เค.เค.ไพล์ลิ่ง ถึงโดดเด่นไม่เหมือนใคร? หาคำตอบกันได้ในคลิปนี้ ขอขอบคุณ คุณทรงวุฒิ แจ้งประสิทธิ์ (กรรมการผู้จัดการบริษัท บี.เค.เค.ไพล์ลิ่ง จำกัด) ที่ให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจผลิตภัณฑ์ของ บริษัท สยามลวดเหล็กฯ มายาวนานกว่า 10 ปี
08-06-2022
นอกจากสินค้าที่ดี มีคุณภาพแล้ว การจัดส่งสินค้าก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องส่งสินค้า ให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการคลุมผ้าใบเพื่อป้องกัน สินค้าไม่ให้โดนฝน และให้สินค้าถึงมือผู้ซื้ออย่าปลอดภัย ลักษณะของการขนส่งที่ดี 1. มีความรวดเร็วและตรงต่อเวลา 2. ส่งสินถ้าถึงที่หมายอย่างปลอดภัย 3. มีการป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น 4. การแต่งกายของคนขับที่ถูกต้อง และมีความสุภาพเรียบร้อย มาดูกันครับว่าการแต่งการให้ถูกต้องในการจัดส่งของ ของ บริษัทสยามลวดเป็นอย่างไร การแต่งตัวของคนขับรถส่งสินค้า - สวมแว่นตานิรภัย - หมวกนิรภัยและคาดสายรัดคาง - ติดบัตรที่บริษัทออกให้ ตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่ - สวมเสื้อสะท้อนแสง - สวมใส่รองเท้านิรภัยที่สภาพพร้อมใช้งาน
08-06-2022
เมื่อพูดถึง “ไวร์เมช (Wire Mesh)” หลาย ๆ คนได้ยินชื่อนี้แล้ว อาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเคยเห็นและรู้จักกันในภาพลักษณ์ที่เป็นตะแกรงเหล็ก แบบแผ่น หรือเป็นม้วนใหญ่ ๆ ตามไซต์งานก่อสร้างต่าง ๆ ไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆนั้น รู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) คือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) นำมา อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. และระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @ มีหลายขนาด เช่น 10*10 ซม / 15*15 ซม. / 20*20 ซม. / 25*25 ซม. / 30* 30 ซม. 40*40 ซม. / 50*50 ซม. สามารถตัดเป็นแผงได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษเหล็ก จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากเหล็กเส้นผูก และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน อีกทั้งยังช่วยยึดเกาะคอนกรีตไม่ให้แตกร้าวง่าย ไวร์เมช จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั่นเอง
10-10-2022
คอนกรีตอัดแรงคืออะไร? หลายท่านอาจยังไม่คุ้นกับคำว่า คอนกรีตอัดแรง ว่าคืออะไร คอนกรีตอัดแรงคือส่วนผสมระหว่างคอนกรีตกำลังสูงและ (ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE และ PC STRAND) การรวมกันนี้ทำให้เกิดเป็น คอนกรีตอัดแรงที่มีแข็งแรงมาก ในสมัยก่อน ก่อนที่จะมีคอนกรีตอัดแรง คานคอนกรีตธรรมดาถึงแม้จะความแข็งของคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักของมันเอง แล้วก็ตาม แต่เมื่อมีการโหลดน้ำหนักเพิ่ม เช่น การวางตู้ ชั้น หรือสิ่งของต่างๆ ตัวคอนกรีตเองมีการรับน้ำหนักเพิ่มก็จะมีรอยร้าวเป็นของคอนกรีตเกิดขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปรอยร้าวเหล่านี้จะใหญ่ขึ้นและในที่สุดคอนกรีตมีการขยายตัวและทำให้คอนกรีตแตกหักได้ สาเหตุเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้คอนกรีตอัดแรงถูกคิดค้นขึ้น ประวัติย่อ: พ.ศ. 2429 P.H. Jackson วิศวกรชาวอเมริกัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการขันท่อนเหล็กเพื่อยึดพื้นคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งวิธีการนี้ยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงขึ้น พ.ศ. 2431 C.E.W. Doehring วิศวกรชาวเยอรมัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการอัดแรงก่อนการรองรับน้ำหนักบรรทุกในประเทศเยอรมัน พ.ศ. 2451 CHARLES R. STEINER วิศวกรชาวอเมริกัน ได้ขอจดทะเบียนการก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีการขันน็อตเพื่อดึงเหล็กในขณะที่คอนกรีตกำลังเริ่มแห้งโดยวิธีการนี้ ก็ไม่ได้รับความนิยมอีกเช่นกัน พ.ศ. 2468 R.E. Dill ได้เสนอวิธีการใหม่คือ การใช้การเคลือบเหล็กด้วยสารที่ไม่ทำให้คอนกรีตเกาะกับเหล็ก ซึ่งเมื่อคอนกรีตหดตัวลงก็จะไม่ทำให้เหล็กนั้นหดตามลงไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคลือบเหล็กมากขึ้นไปอีก พ.ศ. 2471 E. Ereyssinet วิศวกรชาวฝรั่งเศส เริ่มใช้ลวดเหล็กซึ่งกำลังประลัยสูง 17,500 กก. ต่อตารางเซนติเมตร ในการผลิตคอนกรีตอัดแรง วิธีผลิตคอนกรีตอัดแรง: 1.Pre-Tension ดึงลวดอัดแรงก่อนการเทคอนกรีต เช่น เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป และเสาไฟฟ้า เป็นต้น วิธีนี้เรียกว่าการอัดแรง เป็นวิธีก่อสร้างคอนกรีตอัดแรงที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กก่อน มีหลักการง่ายๆว่าจะต้องมีแท่นซึ่งมีหัวแท่นที่แข็งแรงสองหัวอยู่ห่างกันพอสมควร ก. ใช้ลวดเหล็กแรงดึงสูง เช่น PC Wire และ PC Strand ร้อยผ่านหัวแท่น แล้วใช้แม่แรงหรือแจ็คดึงลวดเหล็กให้ยึดออกด้วยแรงประมาณ 70-80% ของกำลังสูงสุดของลวดเหล็กกล้า และใช้อุปกรณ์จับยึดลวดไว้ ข. เสร็จแล้วจึงเทคอนกรีต ลงในแบบให้หุ้มลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ไว้เมื่อบ่มคอนกรีตจนมีกำลังความแข็งแรงประมาณ 70-80% ของกำลังความแข็งที่มีอายุ 28 วัน ค. แล้วจึงตัดลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ให้หลุดจากแท่น ลวดเหล็กกล้าซึ่งถูกดึงทิ้งไว้ก็จะพยายามหดตัวมาสู่สภาพเดิม แต่คอนกรีตที่จับยึดยึดลวดไว้ตลอดความยาวก็จะต้านทานการหดตัวของลวดเหล็ก ทำให้คอนกรีตถูกลวดเหล็กอัดไว้ด้วยแรงอัด ชิ้นส่วนประเภทคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กก่อน ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง, เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง, คานสะพาน, พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งชิ้นส่วนของคอนกรีตเหล่านี้ จะต้องผลิตในโรงงานแล้วขนส่งไปใช้งานที่หน่วยงานก่อสร้าง การใช้คอนกรีตอัดแรงแทนที่คอนกรีตเสริมเหล็ก จะทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตเหล่านี้มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักน้อยลง ซึ่งจะช่วยให้การขนย้ายสะดวกมากขึ้น 2.Post-Tension Slab ดึงลวดอัดแรงหลังการเทคอนกรีต เช่น พื้นแผ่นเรียบไร้คาน (Flat Plate) คานสะพาน (Girder) เป็นต้น คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง เป็นระบบที่พัฒนาต่อจากระบบแรกเพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ต้องการคอนกรีตอัดแรงชิ้นใหญ่ ๆ เราอาจไม่สามารถขนส่ง, ยกหรือเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนนั้นได้ เช่น สะพานช่วงยาวๆ พื้นอาคารขนาดใหญ่ๆ กรณีเช่นนี้ เราจะต้องเตรียมวางท่อเหล็กหรือท่อพลาสติกซึ่งร้อยลวดเหล็กกล้ากำลังสูงไว้ภายใน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง จะเริ่มต้นโดยการหล่อคอนกรีตในไม้แบบที่ได้ติดตั้งไว้ โดยจะต้องมีการฝังท่อสำหรับร้อยเหล็กเสริม (hollow duct) ในตำแหน่งที่ออกแบบไว้ โดยปกติลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะถูกร้อยผ่านในท่อไว้ โดยยังไม่ดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ก่อนการเทคอนกรีต (บางครั้งสามารถร้อยลวดเหล็กผ่านท่อหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว) หลังจากเทคอนกรีตแล้ว เมื่อคอนกรีตมีกำลังสูงถึงค่าที่ต้องการ จึงทำการดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) การดึงลวดเหล็กอาจดึงเพียงข้างเดียว หรือดึงทั้งสองข้าง ขณะทำการดึงจะยึดปลายข้างหนึ่งไว้และดึงที่ปลายอีกข้างหนึ่ง (ในกรณีที่ออกแบบให้ดึงที่ปลายทั้งสองข้างจะทำการดึงทีละข้าง) โดยเมื่อดึงปลายข้างหนึ่งเสร็จแล้ว ก็จะสลับมาดึงปลายอีกข้างหนึ่ง เมื่อดึงแล้วจะทำการยึดปลายด้านให้ตึง โดยใช้อุปกรณ์ยึดปลาย ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จึงถูกดึงค้างไว้บนคอนกรีตทำให้เกิดแรงอัดในคอนกรีต เมื่ออัดแรงเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคือการอัดน้ำปูน (grouting) เข้าไปในท่อที่ร้อยลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) น้ำปูนที่เข้าไปในท่อ ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรงกับคอนกรีต การควบคุมรอยแตกร้าว (crack) จึงทำได้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังประลัย (ultimate strength) ให้สูงขึ้น น้ำปูนที่หุ้มลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะช่วยป้องกันการกัดกร่อนของลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ได้อีกด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง เช่น คานสะพาน เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป เสาไฟฟ้า แผ่นพื้น หมอนรองรถไฟ เป็นต้น และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย