05-07-2023
เสาเข็มควรเจาะลึกแค่ไหน? บ้านจึงปลอดภัยเสาเข็มเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการรับน้ำหนักและถ่ายน้ำหนักของอาคารไปชั้นดิน การถ่ายน้ำหนักของเสาเข็มนั้นเกิดขึ้นระหว่างแรงเสียดทานระหว่างดินกับพื้นผิวของเสาเข็ม หรือโดยการถ่ายแรงโดยตรงไปยังชั้นดินหรือหินแข็ง วัตถุประสงค์หลักของการใช้เสาเข็มคือป้องกันอาคารหรือบ้านให้มีเสถียรภาพหรือทรุดลงในดินเสาเข็มที่ใช้ในอาคารขนาดเล็กจะเป็นเสาเข็มที่มีความยาวไม่มากและจำนวนไม่มาก แต่ในอาคารขนาดใหญ่ก็จะใช้เสาเข็มจำนวนมากขึ้นหรือเสาเข็มที่ยาวมากขึ้นเพื่อให้สามารถถ่ายน้ำหนักลงไปยังชั้นดินที่ลึกและรับน้ำหนักแบกทานได้มากขึ้น ถ้าเสาเข็มยาวถึงระดับชั้นดินแข็ง เสาเข็มจะสามารถรับน้ำหนักจากอาคารและถ่ายลงสู่ชั้นดินแข็งโดยตรง เสาเข็ม สามารถรับน้ำหนักได้อย่างไรเสาเข็มรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ “แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin friction)”และ “แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing)”1. แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) แรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนี้จะมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดินแต่ละชนิด (ดินแต่ละชนิดจะมีสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานผิวต่างกัน) และลักษณะผิวของเสาเข็มแต่ละประเภท2. แรงต้านจากชั้นดินแข็ง (End Bearing คือ แรงต้านที่เกิดขึ้นบริเวณปลายเสาเข็ม ซึ่งแรงนี้เกิดจากดินที่มารองรับที่ปลาเสาเข็ม แรงนี้จะมีปริมาณมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดินเช่นกันดินที่มีช่องว่างระหว่างเนื้อดินมาก (Void) ก็จะมีความสามารถในการับน้ำหนักน้อย (ดินทรุดตัวเมื่อมีน้ำหนักมากระทำ)โดยคุณสมบัติเฉพาะของดินแต่ละชนิด ส่งผลให้มีช่องว่างระหว่างเนื้อดินไม่เหมือนกัน ดินเหนียวจะมีช่องว่างระหว่างเนื้อดินมาก (ดินหลวม)จึงรับน้ำหนักได้น้อย แต่ทรายละเอียดจะมีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อย (ดินอัดแน่น) จึงรับน้ำหนักได้มาก ในการออกแบบเสาเข็มโดยทั่วไปนั้นหากเป็นเสาเข็มแบบ Skin friction pile จะไม่คำนึงว่าปลายเสาเข็มอยู่ที่ชั้นดินประเภทไหน แต่จะให้ความสำคัญเรื่องขนาดและความยาวเสาเข็มที่เพียงพอจะทำให้เกิดแรงฝืดรอบผิวเสาเข็มเพื่อรับน้ำหนักที่กระทำเสาเข็มแบบ End bearing pileออกแบบให้เสาเข็มมีขนาดและความยาวที่ให้ปลายเสาเข็มนั่งอยู่บนชั้นทรายอัดแน่น ประเภทของเสาเข็มที่ใช้ในการสร้างบ้านและอาคารสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ตามลักษณะการผลิตและการใช้งานดังนี้:1. เสาเข็มสปัน (เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง): เป็นเสาเข็มที่ผลิตโดยการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงและแข็งแกร่ง โดยมีโครงสร้างลวดเหล็กที่อัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีต เสาเข็มสปันสามารถตอกหรือเจาะได้หลายแบบ ช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอกและลดแรงดันของดินในขณะตอก มีขนาดและความยาวหลากหลาย เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความแข็งแกร่งเพื่อป้องกันปัญหาลมแรงและแผ่นดินไหว2. เสาเข็มเจาะ: เสาเข็มเจาะใช้กรรมวิธีที่ยุ่งยากและซับซ้อนกว่าเสาเข็มสปัน โดยต้องเจาะดินและใส่เหล็กเสริมและคอนกรีตในสถานที่ที่จะใช้งานจริง มีความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่กำหนด ใช้สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแกร่งสูง3. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง: เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงผลิตโดยวางคอนกรีตเข้าไปในแม่พิมพ์ที่มีลวดเหล็ก PC Wire เสริมฝังอยู่ จากนั้นคอนกรีตจะถูกอัดแรงเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงใช้ในงานสร้างที่ต้องการความแข็งแกร่งและความทนทานต่อสภาพแวดล้อม และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯPC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wirePC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
30-05-2023
ในการก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน เราสามารถเห็นการใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช มาทดแทนการใช้เหล็กเส้นในส่วนของเหล็กเสริมล่าง ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น พื้นโรงงาน , พื้น Post-tension และถนนคอนกรีต เป็นต้นฯ เนื่องจากตะแกรงเหล็กไวร์เมช สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนได้มากกว่าเป็นไหนๆ แต่ในการหันมาใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช แทนเหล็กผูกก็อาจมีวิธีการใช้งานและหลักการคำนวณบางอย่างที่แตกต่างกัน หนึ่งในเรื่องที่หลายคนสงสัยมากคือ “การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช” ควรมีระยะเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช ตะแกรงเหล็กที่ใช้เป็นเหล็กเสริมในแผ่นพื้น จะต้องมีการต่อทาบ ดังนี้ 1. ควรหลีกเลี่ยงการต่อลวดโดยใช้วิธีทาบ ณ บริเวณที่มีหน่วยแรงสูงสุด (ตำแหน่งที่ลวดพื้นรับแรงเกินกว่าครึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้) แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้การต่อวิธีนี้ ต้องมีระยะทาบของตะแกรงไม่น้อยกว่าระยะเรียงของเส้นลวดบวกเพิ่มอีก 5 เซนติเมตร 2. การต่อลวดตะแกรงที่รับแรงไม่เกินครึ่งหนึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้จะต้องมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร อ้างอิง: มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (วสท. 011007-19) และทางสยามลวดเหล็กฯ ก็มีตะแกรงเหล็ก ไวร์เมช ที่ผ่านมาตรฐาน มอก. 737 ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ, ความปลอดภัย, รวดเร็ว และยังมีบริการการออกแบบ CAD, การจัดสรรงบประมาณ, แถมมีวิศวกรให้คำปรึกษาฟรี!! ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม: https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
01-05-2023
การบ่มคอนกรีต (Curing) คือ วิธีการควบคุมและป้องกันไม่ให้น้ำส่วนที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาระเหยออก เพื่อให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่น (hydration) ของซีเมนต์เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จุดประสงค์ของการบ่มคอนกรีต : 1. เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีกำลังและความทนทานสูงสุด 2. เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสม และลดการระเหยของน้ำ เพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต วิธีการบ่มคอนกรีตที่นิยมใช้ : 1. ใช้การฉีดน้ำเป็นระยะเพื่อไม่ให้คอนกรีตแห้ง 2. ใช้พลาสติกคลุมหลังจากฉีดน้ำแล้วเพื่อป้องกันน้ำระเหยออก 3. ใช้กระสอบชุบน้ำหุ้มคอนกรีต 4. ใช้น้ำยาเคมีเคลือบผิวคอนกรีต และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
10-03-2023
“การตอบสนองและแก้ปัญหาได้รวดเร็วคือเคล็ดลับสู่ความสำเร็จ” มาฟังแนวคิดในการดำเนินธุรกิจและประสบการณ์การทำงานร่วมกับสยามลวดเหล็กฯ จากคุณประวัติ เกลียวปิยะ (กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.เอ็น.ซี.เรียลเอสเตท จำกัด และ บริษัท พี.เอ็น.ซี.คอนกรีต จำกัด)
17-02-2023
ในงานก่อสร้างบ้านจัดสรรหรือคอนโดในปัจจุบันส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete กันอย่างแพร่หลายแทนการก่อสร้างแบบผนังอิฐเดิมๆ โดยเฉพาะในงานก่อสร้างหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่ต้องมีบ้านลักษณะคล้ายกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสามารถช่วยประหยัดต้นทุนทรัพยากรในหลายด้าน เช่น เวลาและกำลังคน อีกทั้งยังสามารถควบคุมมาตรฐานได้ดีกว่าการก่อสร้างแบบก่ออิฐ และวันนี้สยามลวดเหล็กฯ จะพาไปดูกันโดยละเอียดว่าเพราะเหตุใดผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักก่อสร้าง และผู้อยู่อาศัยควรปฏิบัติอย่างไรในการใช้บ้านที่สร้างจากผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) คือ? ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ Precast Concrete คือชิ้นส่วนผนังบ้านหรือผนังคอนโดซึ่งจะมีการถูกหล่อขึ้นภายในโรงงานสำเร็จไว้แล้วก่อนที่จะขนย้ายเพื่อนำไปติดตั้งหน้างาน ซึ่งจะแตกต่างจากผนังอิฐฉาบปูนที่จะถูกหล่อขึ้นหน้างานโดยช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete จะมีส่วนประกอบหลักคือ เนื้อคอนกรีตและเสริมความแข็งแรงด้วยลวดตะแกรง Wire Mesh หรือ Cold Drawn ข้อดีของผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete 1. ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง เพราะสามารถหล่อผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเตรียมไว้ในโรงงานในระหว่างประกอบฐานรากได้เลยและจึงนำมาเชื่อมประกอบหน้างาน ต่างจากผนังอิฐที่ต้องเริ่มก่อหลังจากประกอบฐานรากเสร็จแล้วเท่านั้น 2. คุณภาพได้มาตรฐานเดียวกัน เพราะมีการหล่อสำเร็จมาจากโรงงานจึงไม่ขึ้นอยู่กับฝีมือของช่างและสภาพอากาศหน้างาน 3. ใช้จำนวนแรงงานคนน้อยกว่าผนังอิฐมาก เพราะทุกชิ้นส่วนถูกหล่อสำเร็จขึ้นจากโรงงานแล้ว จึงสามารถนำมาวางติดเป็นตัวบ้านได้เลย 4. มีความแข็งแรงสูงจึงใช้แทนเสาหรือคานในการรับน้ำหนักได้ เพราะโครงสร้างประกอบด้วยคอนกรีต และยังเสริมแรงด้วยลวดตะแกรง Wire Mesh หรือ Cold Drawn และสยามลวดเหล็กฯ ก็มีจำหน่ายลวดตะแกรง Wire Mesh และ Cold Drawn ตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. พร้อมสำหรับนำไปใช้ประกอบผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete และได้มาตรฐาน มอก. จึงมั่นใจได้เรื่องความแข็งแรง รายละเอียดสินค้า: https://www.siw.co.th/en/product-detail/wire-mesh ข้อสังเกต 1. ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete จะไม่พบปัญหารอยแตกร้าวเนื่องจากชิ้นส่วนถูกหล่อขึ้นเป็นชิ้นเดียวกัน แต่อาจพบปัญหาน้ำรั่วซึมตามขอบรอยต่อผนังได้หากการเชื่อมติดไม่แน่นหนาพอ 2. การเจาะทุบผนังออกต้องได้รับคำแนะนำจากวิศวกรหากผนังชิ้นนั้นมีส่วนในการรับน้ำหนักของตัวโครงสร้าง
20-01-2023
'ทำไมจึงต้องเลือกใช้สินค้าของสยามลวดฯ' มาดูวิสัยทัศน์ และแนวคิด ของคุณสรณีย์ ดีพันธุ์พงษ์, กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ดคอนสตรัคชั่นแมติเรียล จำกัด (UNICO) ผู้ผลิตเสาเข็มสปันเจ้าแรกในประเทศไทย เรามาฟังคำตอบ ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ จากลูกค้าคนสำคัญของเราพร้อมกันเลย
11-11-2022
เพราะเหตุใดงานเสาเข็มของ บี.เค.เค.ไพล์ลิ่ง ถึงโดดเด่นไม่เหมือนใคร? หาคำตอบกันได้ในคลิปนี้ ขอขอบคุณ คุณทรงวุฒิ แจ้งประสิทธิ์ (กรรมการผู้จัดการบริษัท บี.เค.เค.ไพล์ลิ่ง จำกัด) ที่ให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจผลิตภัณฑ์ของ บริษัท สยามลวดเหล็กฯ มายาวนานกว่า 10 ปี
03-11-2022
การซื้อตะแกรงเหล็กไวร์เมชไม่เต็ม ดูเหมือนจะซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่า เพราะจ่ายเงินบาท/ตร.ม.น้อยกว่า แต่ความเป็นจริงลูกค้า ซื้อของราคาเท่ากัน แต่ได้ตะแกรงเหล็กไวร์น้ำหนักน้อยกว่าปกติมาก เพราะพื้นที่หน้าตัดที่ลดลง และสินค้าที่ได้นั้นจะไม่ได้ตามมาตรฐานที่ถูกต้อง จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ลวดขนาดต่างกันเพียง 0.3 มม. แต่น้ำหนักน้อยกว่าปกติถึง 9.76 % ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพงานก่อสร้างของลูกค้าไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ลูกค้าจะหมดความกังวลเหล่านี้หากซื้อสินค้าตะแกรงเหล็กไวร์ของเรา เพราะตะแกรงเหล็กไวร์เมชของ สยามลวดเหล็กฯ เป็นเหล็กเต็มขนาด ได้มาตรฐาน มอก. จึงมั่นใจได้ในคุณภาพของสินค้า และ ความใส่ใจใน การผลิตในทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ เลือกดูสินค้า: https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
10-10-2022
คอนกรีตอัดแรงคืออะไร? หลายท่านอาจยังไม่คุ้นกับคำว่า คอนกรีตอัดแรง ว่าคืออะไร คอนกรีตอัดแรงคือส่วนผสมระหว่างคอนกรีตกำลังสูงและ (ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE และ PC STRAND) การรวมกันนี้ทำให้เกิดเป็น คอนกรีตอัดแรงที่มีแข็งแรงมาก ในสมัยก่อน ก่อนที่จะมีคอนกรีตอัดแรง คานคอนกรีตธรรมดาถึงแม้จะความแข็งของคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักของมันเอง แล้วก็ตาม แต่เมื่อมีการโหลดน้ำหนักเพิ่ม เช่น การวางตู้ ชั้น หรือสิ่งของต่างๆ ตัวคอนกรีตเองมีการรับน้ำหนักเพิ่มก็จะมีรอยร้าวเป็นของคอนกรีตเกิดขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปรอยร้าวเหล่านี้จะใหญ่ขึ้นและในที่สุดคอนกรีตมีการขยายตัวและทำให้คอนกรีตแตกหักได้ สาเหตุเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้คอนกรีตอัดแรงถูกคิดค้นขึ้น ประวัติย่อ: พ.ศ. 2429 P.H. Jackson วิศวกรชาวอเมริกัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการขันท่อนเหล็กเพื่อยึดพื้นคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งวิธีการนี้ยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงขึ้น พ.ศ. 2431 C.E.W. Doehring วิศวกรชาวเยอรมัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการอัดแรงก่อนการรองรับน้ำหนักบรรทุกในประเทศเยอรมัน พ.ศ. 2451 CHARLES R. STEINER วิศวกรชาวอเมริกัน ได้ขอจดทะเบียนการก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีการขันน็อตเพื่อดึงเหล็กในขณะที่คอนกรีตกำลังเริ่มแห้งโดยวิธีการนี้ ก็ไม่ได้รับความนิยมอีกเช่นกัน พ.ศ. 2468 R.E. Dill ได้เสนอวิธีการใหม่คือ การใช้การเคลือบเหล็กด้วยสารที่ไม่ทำให้คอนกรีตเกาะกับเหล็ก ซึ่งเมื่อคอนกรีตหดตัวลงก็จะไม่ทำให้เหล็กนั้นหดตามลงไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคลือบเหล็กมากขึ้นไปอีก พ.ศ. 2471 E. Ereyssinet วิศวกรชาวฝรั่งเศส เริ่มใช้ลวดเหล็กซึ่งกำลังประลัยสูง 17,500 กก. ต่อตารางเซนติเมตร ในการผลิตคอนกรีตอัดแรง วิธีผลิตคอนกรีตอัดแรง: 1.Pre-Tension ดึงลวดอัดแรงก่อนการเทคอนกรีต เช่น เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป และเสาไฟฟ้า เป็นต้น วิธีนี้เรียกว่าการอัดแรง เป็นวิธีก่อสร้างคอนกรีตอัดแรงที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กก่อน มีหลักการง่ายๆว่าจะต้องมีแท่นซึ่งมีหัวแท่นที่แข็งแรงสองหัวอยู่ห่างกันพอสมควร ก. ใช้ลวดเหล็กแรงดึงสูง เช่น PC Wire และ PC Strand ร้อยผ่านหัวแท่น แล้วใช้แม่แรงหรือแจ็คดึงลวดเหล็กให้ยึดออกด้วยแรงประมาณ 70-80% ของกำลังสูงสุดของลวดเหล็กกล้า และใช้อุปกรณ์จับยึดลวดไว้ ข. เสร็จแล้วจึงเทคอนกรีต ลงในแบบให้หุ้มลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ไว้เมื่อบ่มคอนกรีตจนมีกำลังความแข็งแรงประมาณ 70-80% ของกำลังความแข็งที่มีอายุ 28 วัน ค. แล้วจึงตัดลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ให้หลุดจากแท่น ลวดเหล็กกล้าซึ่งถูกดึงทิ้งไว้ก็จะพยายามหดตัวมาสู่สภาพเดิม แต่คอนกรีตที่จับยึดยึดลวดไว้ตลอดความยาวก็จะต้านทานการหดตัวของลวดเหล็ก ทำให้คอนกรีตถูกลวดเหล็กอัดไว้ด้วยแรงอัด ชิ้นส่วนประเภทคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กก่อน ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง, เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง, คานสะพาน, พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งชิ้นส่วนของคอนกรีตเหล่านี้ จะต้องผลิตในโรงงานแล้วขนส่งไปใช้งานที่หน่วยงานก่อสร้าง การใช้คอนกรีตอัดแรงแทนที่คอนกรีตเสริมเหล็ก จะทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตเหล่านี้มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักน้อยลง ซึ่งจะช่วยให้การขนย้ายสะดวกมากขึ้น 2.Post-Tension Slab ดึงลวดอัดแรงหลังการเทคอนกรีต เช่น พื้นแผ่นเรียบไร้คาน (Flat Plate) คานสะพาน (Girder) เป็นต้น คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง เป็นระบบที่พัฒนาต่อจากระบบแรกเพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ต้องการคอนกรีตอัดแรงชิ้นใหญ่ ๆ เราอาจไม่สามารถขนส่ง, ยกหรือเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนนั้นได้ เช่น สะพานช่วงยาวๆ พื้นอาคารขนาดใหญ่ๆ กรณีเช่นนี้ เราจะต้องเตรียมวางท่อเหล็กหรือท่อพลาสติกซึ่งร้อยลวดเหล็กกล้ากำลังสูงไว้ภายใน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง จะเริ่มต้นโดยการหล่อคอนกรีตในไม้แบบที่ได้ติดตั้งไว้ โดยจะต้องมีการฝังท่อสำหรับร้อยเหล็กเสริม (hollow duct) ในตำแหน่งที่ออกแบบไว้ โดยปกติลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะถูกร้อยผ่านในท่อไว้ โดยยังไม่ดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ก่อนการเทคอนกรีต (บางครั้งสามารถร้อยลวดเหล็กผ่านท่อหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว) หลังจากเทคอนกรีตแล้ว เมื่อคอนกรีตมีกำลังสูงถึงค่าที่ต้องการ จึงทำการดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) การดึงลวดเหล็กอาจดึงเพียงข้างเดียว หรือดึงทั้งสองข้าง ขณะทำการดึงจะยึดปลายข้างหนึ่งไว้และดึงที่ปลายอีกข้างหนึ่ง (ในกรณีที่ออกแบบให้ดึงที่ปลายทั้งสองข้างจะทำการดึงทีละข้าง) โดยเมื่อดึงปลายข้างหนึ่งเสร็จแล้ว ก็จะสลับมาดึงปลายอีกข้างหนึ่ง เมื่อดึงแล้วจะทำการยึดปลายด้านให้ตึง โดยใช้อุปกรณ์ยึดปลาย ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จึงถูกดึงค้างไว้บนคอนกรีตทำให้เกิดแรงอัดในคอนกรีต เมื่ออัดแรงเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคือการอัดน้ำปูน (grouting) เข้าไปในท่อที่ร้อยลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) น้ำปูนที่เข้าไปในท่อ ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรงกับคอนกรีต การควบคุมรอยแตกร้าว (crack) จึงทำได้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังประลัย (ultimate strength) ให้สูงขึ้น น้ำปูนที่หุ้มลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะช่วยป้องกันการกัดกร่อนของลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ได้อีกด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง เช่น คานสะพาน เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป เสาไฟฟ้า แผ่นพื้น หมอนรองรถไฟ เป็นต้น และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
01-09-2022
"สยามลวดเหล็กฯ" ได้มีการเพิ่มเครื่องทดสอบความล้าคุณภาพสูง (Fatigue testing machine) จากประเทศเยอรมนี เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของสยามลวดเหล็กฯ ปลอดภัยและได้มาตรฐานสูงสุด ก่อนส่งมอบถึงมือลูกค้า โดยเครื่องดังกล่าว รองรับมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จาก The National Association of Testing Authorities (NATA) มีความสามารถในการทดสอบโหลดสูงสุด 500kN สำหรับเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4-30 มม.(หรือสูงกว่าตามต้องการ), ความถี่ 120 Hz สำหรับทดสอบลวด PC Wire, PC Strand , เหล็กเส้นมาตรฐาน : LNEC E 452, ISO15630-3, preEN10138 เป็นต้น
18-08-2022
วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 บริษัท สยามลวดเหล็กอุตสาหกรรม จำกัด ร่วมส่งมอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กกล้า ขนาด 5 มม. และลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ขนาด 9.3 มม. (PC Wire และ PC Strand) แก่คณะวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 เส้น อีกทั้งยังมีการแนะนำอบรมกระบวนการผลิต เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สยามลวดเหล็กฯ มีความยินดีที่จะส่งเสริมสร้างสรรค์การพัฒนาบุคลากรภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและชำนาญในวิชาชีพและต่อยอดเป็นแรงงานที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมในอนาคต
08-06-2022
ผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง หรือ (HOLLOW CORE) คือระบบแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงแบบกลวง ผลิตจากคอนกรีตแห้งหรือ NO SLUMP CONCRETEที่มีกำลังอัดสูงถึง 350 กก/ตร.ซม. เสริมด้วยลวดเหล็กแรงดึงสูง ( PC WIRE ) หรือ ลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ( PC STRAND ) สามารถผลิตความหนาได้ตั้งแต่ 6 ซม. ไปจนถึง 30 ซม. แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) เหมาะสำหรับงานก่อสร้างอาคารประเภทต่างๆ เช่น อาคารพักอาศัย อาคารสำนักงาน ,โรงงานอุตสาหกรรม และห้างสรรพสินค้าโดยที่มี ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยและ มีขนาดความกว้างและหนาให้เลือก ตามความเหมาะสมของการใช้งาน ส่วนความยาวนั้นสามารถผลิตได้ตามความต้องการ ที่จะนำไปใช้งาน สำหรับข้อดีที่เป็นจุดเด่นเลยของการใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) ก็คือ 1.น้ำหนักเบาช่วยประหยัดโครงสร้าง เช่น เสา, คาน , ฐานราก 2.แข็งแรง เพราะผลิตจากคอนกรีตกำลังอัดสูงทำให้แผ่นพื้น มีความทนทาน และคุณภาพสูง 3.รวดเร็วผลิตสำเร็จจากโรงงานลดเวลางานในการผูกเหล็กได้ 4.ประหยัด สะดวกไม่ต้องใช้ค้ำยันชั่วคราว และสิ่งที่จะขาดไม่ได้ และเป็นหัวใจสำคัญในการผลิต แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) ที่จะทำให้ มีความแข็งแรงมากขึ้นนั้น จำเป็นต้องมี ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง PC WIRE , PC STRAND ที่ใช้ในการผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) และทางสยามลวดเอง ก็มีสินค้า PC WIRE และ PC STRAND ที่มีมาตรฐาน มอก.95-2540 และ 420-2540 ที่ได้รับความไว้วางใจ และเป็นที่ยอมรับมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก
08-06-2022
เหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนเป็นธาตุหลัก แบ่ง เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนไม่เกิน 0.25% นอกจากคาร์บอนแล้ว ยังมีธาตุอื่นผสม- อยู่ด้วย เช่น แมงกานีส ซิลิคอน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน แต่มีปริมาณน้อยเนื่องจาก หลงเหลือมาจากกระบวนการผลิต เหล็กประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม และใน ชีวิตประจำวันไม่ต่ำกว่า 90% เนื่องจากขึ้นรูปง่าย เชื่อมง่าย และราคาไม่แพง โดยเฉพาะเหล็กแผ่นมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ตัวถังรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ กระป๋องบรรจุอาหาร สังกะสีมุงหลังคา เครื่องใช้ในครัวเรือน และในสำนักงาน 2. เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.2-0.5% มีความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงมากกว่า เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ แต่จะมีความเหนียวน้อยกว่า สามารถนำไปชุบแข็งได้ เหมาะกับ งานทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล รางรถไฟ เฟือง ก้านสูบ ท่อเหล็ก ไขควง เป็นต้น 3. เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.5 - 1.5% มีความแข็งความแข็งแรงและความเค้น- แรงดึงสูง เมื่อชุบแข็งแล้วจะเปราะ เหมาะสำหรับงานที่ทนต่อการสึกหรอ ใช้ในการทำ เครื่องมือ สปริงแหนบ ลูกปืน เป็นต้น สินค้าที่ สยามลวดสามารถผลิตได้นั้น มีเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ หรือ (Low Carbon Steel) 1.ลวดเหล็กคาร์บอนต่ำ หรือที่เรียกว่า (Cold drawn) คือเหล็กที่ผลิตมาจากเหล็กลวดคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Wire Rods) โดยผ่านกระบวนการนำเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำมา รีดลดขนาดโดยการรีดเย็น จนเป็นผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ มักใช้กับงานผูกเหล็ก ตะปู ตาข่าย และ ทำปลอกเสาเข็ม และสยามลวด นั้นสามารถผลิตได้ตั้งแต่ขนาด 6-12 mm. น้ำหนักต่อม้วนตั้งแต่ 250 kg - 2500 kg 2.เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) ที่เรียกว่า ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE , PC STRAND นั่นเอง มักใช้กับงานแผ่นพิ้น เสาเข็ม เสาไฟฟ้า หมอนรองรางรถไฟ และคานสะพาน เป็นต้น และสามารถผลิต PC WIRE ได้ตั้งแต่ขนาด 4-9 mm. และ PC STRAND ขนาด 9.3 , 9.5 , 12.7 และ 15.2 mm.
08-06-2022
นอกจากสินค้าที่ดี มีคุณภาพแล้ว การจัดส่งสินค้าก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องส่งสินค้า ให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการคลุมผ้าใบเพื่อป้องกัน สินค้าไม่ให้โดนฝน และให้สินค้าถึงมือผู้ซื้ออย่าปลอดภัย ลักษณะของการขนส่งที่ดี 1. มีความรวดเร็วและตรงต่อเวลา 2. ส่งสินถ้าถึงที่หมายอย่างปลอดภัย 3. มีการป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น 4. การแต่งกายของคนขับที่ถูกต้อง และมีความสุภาพเรียบร้อย มาดูกันครับว่าการแต่งการให้ถูกต้องในการจัดส่งของ ของ บริษัทสยามลวดเป็นอย่างไร การแต่งตัวของคนขับรถส่งสินค้า - สวมแว่นตานิรภัย - หมวกนิรภัยและคาดสายรัดคาง - ติดบัตรที่บริษัทออกให้ ตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่ - สวมเสื้อสะท้อนแสง - สวมใส่รองเท้านิรภัยที่สภาพพร้อมใช้งาน
08-06-2022
น้ำหนักของตะแกรงเหล็กก็มีความสำคัญมากในการสั่งซื้อเพราะ จะทำให้เราสามารถ รู้ได้ว่าจำนวนแผงได้ครบตามที่ต้องการหรือไม่ และยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของ ขนาดเหล็กว่าได้เหล็กเต็มขนาดรึเปล่า วิธีการคำนวนอย่างง่าย ( ใช้ได้เฉพาะ ตะแกรงที่มีขนาดลวดและ ความห่างตาเท่ากัน เท่านั้น ) ตามภาพ ถึงอย่างไร น้ำหนักอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจาก มีรายละเอียดในตะแกรงเหล็กมากกว่านั้นเช่น จำนวนลวดที่ไม่เท่ากัน หรือ มีความต่างของ ขนาดลวด และความต่างของช่องตา จึงต้องมีการคำนวนอย่างละเอียด ถ้าต้องการทราบว่าน้ำหนักที่ถูกต้องก็ สามารถสอบถาม กลับมาทาง บริษัทสยามลวดเหล็กได้ เนื่องจากมีวิศวกร คอยให้ความรู้ และ สามารถสอบถามราคาได้ จึงมีความมั่นใจได้ว่า เหล็กของสยามลวด นั้น เป็นเหล็กเต็มขนาด และมีมาตรฐานในการผลิตที่ได้ตามมาตรฐาน มอก.
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย